header-frame

ประวัติความเป็นมาและสภาพปัจจุบัน

    ศูนย์บริการการศึกษา เป็นหน่วยงานที่มีฐานะเที่ยบเท่าสำนักวิชา สถาบัน ตามความโดยสรุปในพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2535 มาตรา 6 และเป็นหนึ่งในสิบห้าหน่วยงานในวาระเริ่มแรกของมหาวิทยาลัยตามที่ระบุไว้ในมาตรา 56 โดยมีผู้อำนวยการเป็นผู้บังคับบัญชาและรับผิดชอบงานของศูนย์ทีมีรองผู้อำนวยการทำหน้าที่รับผิดชอบตามที่ผู้อำนวยการมอบหมาย
    - พ.ศ.2540 มหาวิทยาลัยมีคำสั่งแต่งตั้ง รองศาสตราจารย์ ดร.คณิต ไข่มุดก์ ดำรงตำแหน่งรักษาการแทน ผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษา และ พ.ศ. 2541 มหาวิทยาลัยแต่งตั้ง นายพ้วน เพ่งเซ้ง ดำรงตำแหน่ง รักษาการแทนรองผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษา โดยช่วงระยะเวลาดังกล่าวเป็นช่วงระยะเวลาดังกล่าวเป็นช่วงระยะเวลาเตรียมการ เรื่องการรับนักศึกษาและการเปิดเรียนเป็นครั้งแรกของมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2541 ศูนย์บริการการศึกษาเปิดดำเนินการรับนักศึกษารุ่นแรก และวันที่ 28 พฤษภาคม 2541 มหาวิทยาลัยเปิดทำการสอนวันแรก
    - พ.ศ. 2542-2546 มหาวิทยาลัยมีคำสั่งแต่งตั้งรักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษา ตามลำดับ ดังนี้ 1) รองศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร รัตนพานี 2) รองศาสตราจารย์ ดร.พูลพงษ์ บุญพราหมณ์ 3) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพิศ ฤทธิ์แก้ว ตามคำสั่งที่ 317/2542 ต่อมามหาวิทยาลัยมีคำสั่ง 24/2543 แต่งตั้ง นางวิภาวรรณ ชะอุ่ม เพ็ญสุขสันต์ เป็นรักษาการแทนรองผู้อำนวยการแทนรองผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษา
    - พ.ศ.2546-2550 มหาวิทยาลัยมีคำสั่งที่ 5/2546 แต่งตั้ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพิศ ฤทธิ์แก้ว ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษา และคำสั่งที่ 471/2546 แต่งตั้ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิภาวรรณ ชะอุ่ม เพ็ญสุขสันต์ ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษา
    - พ.ศ.2550-2554 มหาวิทยาลัยมีคำสั่งที่ 8/2550 แต่งตั้ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพิศ ฤทธิ์แก้ว ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษา และคำสั่งที่ 376/2551 แต่งตั้ง ดร.นีรนาท แก้วประเสริฐ ระฆังทอง ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษา
    - พ.ศ.2555-2559 มหาวิทยาลัยมีคำสั่งที่ 5/2555 แต่งตั้ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพิศ ฤทธิ์แก้ว ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษา และคำสั่งที่ 565/2555 แต่งตั้ง ดร.นีรนาท แก้วประเสริฐ ระฆังทอง ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษา
    - พ.ศ.2559-2563 มหาวิทยาลัยมีคำสั่งที่ 10/2559 แต่งตั้ง แต่งตั้ง ดร.นีรนาท แก้วประเสริฐ ระฆังทอง ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษา และคำสั่งที่ 79/2561 แต่งตั้ง ดร.กาญจน์นัฐฐา ไชยศรียา ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษา
    - พ.ศ.2563-ปัจุจบัน มหาวิทยาลัยมีคำสั่งที่ 15/2563 แต่งตั้ง แต่งตั้ง ดร.นีรนาท แก้วประเสริฐ ระฆังทอง ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษา และคำสั่งที่ 4/2564 ดร.กาญจน์นัฐฐา ไชยศรียา ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษา
    - ปัจจุบันศูนย์บริการการศึกษา อยู่ภายใต้การกำกับดูแล ของรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ โดยมีคณะกรรมการประจำศูนย์บริการการศึกษา ทำหน้าที่พิจารณานโยบายและการดำเนินงานของศูนย์ การดำเนินการภายในของศูนย์บริการการศึกษาแบ่งเป็น 5 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายบริหารงานทั่วไปและธุรการ ฝ่ายรับนักศึกษา ฝ่ายทะเบียนและประมวลผล ฝ่ายบริการการสอนและการสอบ และฝ่ายวิเคราะห์ระบบและพัฒนาสารสนเทศ

วิสัยทัศน์และแผนการดําเนินงาน ศูนย์บริการการศึกษา

วิสัยทัศน์
    1. เป็นศูนย์สมรรถนะสูงในระดับสากล ด้านการรับนักศึกษา ด้านทะเบียนและประมวลผล ด้วยระบบ Smart educational system ในยุค Digital Disruption
    2. เป็นศูนย์ที่สร้างรายได้เพื่อเป็นองค์กรแห่งความยั่งยืน (Revenue Center for Sustainable Organization)
    3. เป็นศูนย์วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลเชื่อมโยง เพื่อการรับนักศึกษา การเรียนการสอน การวัดและประเมินผล สําหรับการพัฒนาของมหาวิทยาลัยทั้งในระดับมหภาคและจุลภาค
    4. เป็นศูนย์ให้คําปรึกษาพยากรณ์ทางด้านการเรียน ด้วย Forecast Student Achievement
    5. เป็นศูนย์ที่บุคลากรได้รับการพัฒนาองค์ความรู้และการปฏิบัติงานสอดคล้องการการเปลี่ยนแปลงของ เทคโนโลยีดิจิทัล ด้วยความถูกต้อง รวดเร็ว ทันเวลา
แผนการดําเนินงาน
ตามวิสัยทัศน์ตามข้อ 1 และพันธกิจขององค์กร
    1.1 ปรับโครงสร้างองค์กร ให้สอดคล้องกับแนวคิดของมหาวิทยาลัย ความก้าวหน้าทาง วิชาชีพของพนักงานสายปฏิบัติการ โดยการออกแบบงานใหม่ (redesign) อยู่เสมอ
    1.2 นําวิธีคิดแบบ OKR หรือ รูปแบบการบริหารงานองค์กรสมัยใหม่ มาใช้ในระบบ การกระตุ้นความคิดในการพัฒนางานของศูนย์บริการการศึกษา
    1.3 พัฒนาระบบเพื่อรองรับและเชื่อมโยงฐานข้อมูล งานรับ งานทะเบียนและ ประมวลผลในการพัฒนาหลักสูตรทั้งรูปแบบ Degree และ Non-Degree
   1.4 พัฒนาระบบ Smart Educational Service System เพื่อการดําเนินงานในปัจจุบัน และเพื่อผลักดันการพัฒนา virtual university
    1.5 พัฒนาระบบ Smart Educational Document System ในการเผยแพร่เอกสาร สําคัญทางการศึกษา และข้อมูลที่สําคัญ ที่เกี่ยวข้องกับดําเนินการตาม กฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่สําคัญต่างๆ แบบ Real time ทั้งในการดําเนินงานปัจจุบันและ virtual university
    1.6 พัฒนาระบบการจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling) และระบบ สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ (Decision Support System) เข้ามาใช้เพื่อให้อาจารย์ผู้สอน และนักศึกษาได้วาง แผนการจัดการเรียนการสอน ทั้งตามแผนการศึกษาและนักศึกษาตกค้าง ลดการเปลี่ยนแปลงแก้ไข/ยกเลิก วัน เวลาเรียนในแต่ละรายวิชา โดยสามารถจัดการเรียนการสอนรายปีและรายบุคคลได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเป็น การพัฒนา เพื่อรองรับระบบและตอบสนองอุปสงค์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในโลกยุคปัจจุบันและอนาคต
    1.7 พัฒนาระบบหน่วยบริการทดสอบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Testing Unit) รวมทั้งพัฒนา ระบบการจัดสอบที่มีอยู่ เพื่อเตรียมความพร้อมและรองรับการจัดสอบทั้งภายในและภายนอก และ virtual university
    1.8 พัฒนาระบบ Forecast Student Achievement สําหรับการพยากรณ์ทางด้านการเรียน
ตามวิสัยทัศน์ตามข้อ 2 และพันธกิจขององค์กร
    2.1 ใช้กลไกทางเศรษฐศาสตร์เรื่องต้นทุน-รายรับ และเครื่องมือ Economy of scale เข้ามาช่วยจัดการตัวเองเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ
    2.2 ใช้ระบบ PDCA ด้วย Real-time Analytics เพื่อการตรวจสอบการปฏิบัติตาม กฎระเบียบ รวมถึงการวิเคราะห์สาเหตุและผลกระทบ (Cause-and-Effect Analysis) อย่างรวดเร็ว เพื่อ นํามาใช้เป็นกลไกในการกํากับและติดตามให้มีประสิทธิภาพในความสําเร็จขององค์กร
    2.3 พัฒนาความร่วมมือกับเครือข่ายศูนย์ทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติและเครือข่าย ภายนอกอื่น ๆ เพื่อสร้างรายได้ให้กับองค์กร โดยยึดการดําเนินงานตามหลักปรัชญา ALL WIN ที่ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียทุกกลุ่มได้รับประโยชน์อันจะนํามาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของทุกภาคส่วนทั้งภายในและภายนอก มหาวิทยาลัย
    2.3 พัฒนาความร่วมมือกับเครือข่ายศูนย์ทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติและเครือข่าย ภายนอกอื่น ๆ เพื่อสร้างรายได้ให้กับองค์กร โดยยึดการดําเนินงานตามหลักปรัชญา ALL WIN ที่ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียทุกกลุ่มได้รับประโยชน์อันจะนํามาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของทุกภาคส่วนทั้งภายในและภายนอก มหาวิทยาลัย
    2.4 ให้บริการการทดสอบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Testing Unit) แก่มหาวิทยาลัยและองค์กร ภายนอก เพื่อสร้างรายได้
    2.5 สร้างต้นแบบโมเดลทางธุรกิจ สําหรับผลิตภัณฑ์การศึกษา
ตามวิสัยทัศน์ตามข้อ 3 และพันธกิจขององค์กร
    3.1 จัดตั้งและสนับสนุนภารกิจการทําวิจัย ให้เป็นหนึ่งในภารงานของส่วน เพื่อวิเคราะห์ ข้อมูลรูปแบบใหม่ สําหรับการสนับสนุนตามนโยบายและทิศทางของมหาวิทยาลัย ได้อย่างถูกต้องและทันท่วงที
    3.2 จัดพื้นที่สาธารณะทั้งรูปแบบ Online และ Offline เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถ สะท้อนความคิดเห็นและความต้องการได้ โดยศูนย์บริการการศึกษาจะนําสารสนเทศที่ได้มาเป็นโจทย์ในการ วิจัย เพื่อการให้บริการของศูนย์ได้อย่างเป็นเลิศ
    3.3 เผยแพร่ผลการวิจัย เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนของมหาวิทยาลัยสามารถนํา ผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์สําหรับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ตามวิสัยทัศน์ตามข้อ 4 และพันธกิจขององค์กร
    4.1 จัดตั้งหน่วยบริการข้อมูลข่าวสารและให้คําปรึกษาแก่ผู้รับบริการ โดยใช้ทั้งทางตรง และทาง Social Media
    4.2 พัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการให้คําปรึกษาทางการเรียนให้เข้าใจระบบ Forecast Student Achievement
    4.3 รับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะสําหรับการพัฒนาระบบ Forecast Student Achievement อย่างต่อเนื่อง ผ่านช่องทาง Online หรือ Offline ของศูนย์บริการการศึกษา
    4.4 พัฒนาและปรับปรุง ประสิทธิภาพของระบบ Forecast Student Achievement เพื่อให้การพยากรณ์มีความแม่นยําสูง
ตามวิสัยทัศน์ตามข้อ 5 และพันธกิจขององค์กร
    5.1 ส่งเสริมการทํางานโดยใช้วัฒนธรรมองค์กร เพื่อพัฒนาบุคลากรให้เปลี่ยนแปลง ตนเองทั้งด้าน knowledge, skill, attitude and Mature Minds ที่นํามาใช้ในงานบริการได้อย่างลงตัว โดย เน้นการใฝ่รู้อย่างสร้างสรรค์ และจริงจังกับงานที่เป็นผลประโยชน์ของมหาวิทยาลัยและผู้รับบริการเป็นสําคัญ
    5.2 ส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรในศูนย์บริการการศึกษา ได้คิดและนําไปใช้ซึ่งนวัตกรรม และเทคโนโลยี พร้อมทั้งให้รู้จักประเมินคุณภาพตนเองตามสภาพจริงทุกปี
    5.3 ศึกษาดูงานที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรร่วมกับผู้รับบริการ ในการทํางานของ ศูนย์บริการการศึกษา ทั้งนี้ ทั้งวิสัยทัศน์และแผนการดําเนินงานดังกล่าวเป็นแนวคิดส่วนบุคคล หากมีโอกาสได้ นํามาใช้ในทางปฏิบัติจริง จะใช้หลักการมีส่วนร่วม ในการกําหนดร่วมกันอีกครั้ง
footer-frame