ผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษา นำผลผลิตจากสำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มอบให้กับตัวแทนครูโรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ Greenhouse Inaugurated Project

ผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษา นำผลผลิตจากสำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มอบให้กับตัวแทนครูโรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ Greenhouse Inaugurated Project

เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2566 อาจารย์ ดร.นีรนาท แก้วประเสริฐ ระฆังทอง ผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษา เดินทางไปโรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช พร้อมนำผลเมล่อน เพื่อมอบให้กับตัวแทนครู สำหรับมิตรภาพอันดีระหว่างสถาบัน
ผลผลิตจากโครงการ Greenhouse Inaugurated Project

        เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2566 อาจารย์ ดร.นีรนาท แก้วประเสริฐ ระฆังทอง ผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษา เดินทางไปโรงเรียนเบญจมราชูทิศ นครศรีธรรมราช พร้อมนำผลเมล่อน ผลผลิตจากโครงการ Greenhouse Inaugurated Project ซึ่งเป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือกับ Mashav (Israel’s Agency for International Development Cooperation) และสถานทูตอิสราเอลประจําประเทศไทย เพื่อมอบให้กับตัวแทนครู สำหรับมิตรภาพอันดีระหว่างสถาบัน

        สำหรับโครงการ Greenhouse Inaugurated Project สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร เป็นโครงการดูแลและผลิตพืชภายใต้โรงเรือน โครงการเมล่อนปลอดภัยในระบบโรงเรือน Greenhouse Inaugurated Project มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นโครงการหลักในการเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยด้านอาหารให้กับนักศึกษาและบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย โดยมุ่งเน้นให้เกิดประโยชน์ทางตรง คือ การแก้ปัญหาการบริโภคผลไม้ปนเปื้อนสารเคมีกำจัดวัชพืชและศัตรูพืชทางการเกษตรซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภค การดำเนินกิจกรรมของโครงการจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับนักศึกษาสำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร ก่อให้เกิดการจ้างงานนักศึกษาในสำนักวิชาเพื่อให้มีรายได้ระหว่างเรียนประกอบกับได้รับความรู้ความเข้าใจรวมทั้งประสบการณ์ในการทำธุรกิจการเกษตรทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังได้รับประโยชน์ทางอ้อม โดยการประชาสัมพันธ์เป็นสถานที่เพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตรแก่บุคคลภายนอก กลุ่มราชการที่มาศึกษาดูงาน นักท่องเที่ยว ซึ่งจะก่อให้เกิดการจำหน่ายสินค้าแบบขายปลีกถือเป็นช่องทางการตลาดรูปแบบหนึ่งและเป็นการสร้างชื่อเสียงให้มหาวิทยาลัยเป็นที่รู้จักในวงกว้าง สามารถดึงดูดให้นักศึกษาเข้ามาศึกษาในสำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมอาหารมากยิ่งขึ้น ถือได้ว่าเป็นศูนย์การศึกษาเรียนรู้ที่มีบทบาทเป็นรากฐานการพัฒนาเชื่อมโยงเป็นระบบเครือข่ายธุรกิจการเกษตรขนาดใหญ่ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์หลายภาคส่วนของมหาวิทยาลัย ได้แก่ ภาคการศึกษา ภาคการผลิต ภาคการค้าและภาคการบริการวิชาการแบบครบวงจร